โครงการสัมมนาและฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในสาขาวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ของคณะวิชาต่างๆ ภายใต้หัวข้อ “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์” ปีการศึกษา 2561

โครงการสัมมนาและฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในสาขาวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ของคณะวิชาต่างๆ ภายใต้หัวข้อ “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์” ปีการศึกษา 2561

ด้วยสภาพการณ์ปัจจุบัน การวิจัยไม่ว่าจะเป็นทางสังคมศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีก็ตาม หากการวิจัยนั้นเกี่ยวพันกับมนุษย์แล้ว ผู้วิจัยจำเป็นต้องปฏิบัติตามจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เสมอ ดังนั้นมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์จึงให้ความสำคัญในด้านคุณธรรมและจริยธรรม โดยเฉพาะบทบาทหน้าที่ของคณาจารย์ตลอดจนบุคลากรที่ทำวิจัย และงานวิจัยนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้ทำวิจัยจะต้องผ่านการฝึกอบรมในด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เพื่อให้งานวิจัยนั้นๆ เป็นที่ยอมรับและไม่ผิดหลักจริยธรรม ซึ่งการสัมมนาและฝึกอบรมฯในครั้งนี้ เพื่อให้คณาจารย์และนักวิจัย มีความรู้การทำงานวิจัยที่ต้องปฏิบัติตามจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และตระหนักถึงจรรยาบรรณในการทำวิจัย สำนักวิจัยจึงได้จัดโครงการสัมมนาและฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในสาขาวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ของคณะวิชาต่างๆ ภายใต้หัวข้อ “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์” ปีการศึกษา 2561 ณ ห้องเธียร์เตอร์ ชั้น 7 มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต รองประธานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ชุดกลาง สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรบรรยายในครั้งนี้

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการขอทุนสนับสนุนการทำวิจัย และเขียนบทความวิจัยของคณาจารย์หน้าใหม่ ปีการศึกษา 2560

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ได้บรรจุอาจารย์ใหม่เข้ามาปฏิบัติงานเป็นจำนวนไม่น้อย ซึ่งการปฏิบัติงานในตำแหน่งอาจารย์นั้น นอกจากรับผิดชอบด้านการเรียนการสอนแล้ว ยังมีภาระงานด้านการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ทั้งเพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน การบริการสังคม รวมถึงการก้าวหน้าในทางวิชาการอีกด้วย

การได้รับตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ย่อมแสดงถึงความเข้มแข็งในศักยภาพต่อการจัดการด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัย แต่การก้าวสู่ตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์หน้าใหม่ ยังคงต้องใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติหรือฝึกก้าวเดินอีกนานมาก หากค่อย ๆ เรียนรู้ด้วยตนเองเพียงตามลำพัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเริ่มต้นสร้างผลงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องมีกระบวนการฝึกปฏิบัติเขียนโครงร่างวิจัยหรือ Proposal เพื่อขอทุนสนับสนุนการวิจัย รวมถึงกระบวนการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด

สำนักวิจัยและคณะวิชาสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำเป็นต้องสร้างกลไก โดยจัดโครงการ "การอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการขอทุนสนับสนุนการทำวิจัยและเขียนบทความวิจัย ของคณาจารย์หน้าใหม่" โดยจัดขึ้นในวันที่ 26 - 27 เมษายน 2561 ณ ห้องประชุมคณะบริหารธุรกิจ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ เพื่อสร้างคณาจารย์หน้าใหม่ให้มีศักยภาพในการทำวิจัย โดยเชิญนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการเขียนบทความวิจัย มาเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือแนะนำตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ประสิทธิชัย นรากรณ์ และ อาจารย์นพดล มโนสุทธิ เป็นวิทยากรบรรยายในครั้งนี้





โครงการสัมมนาและฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของคณะวิชา และโครงการสัมมนาและฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการทำวิจัย ในสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ของคณะวิชา ประจำปีการศึกษา 2559

สำนักวิจัยร่วมกับคณะวิชาต่าง ๆ จึได้จัดโครงการสัมมนาและฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของคณะวิชา และโครงการสัมมนาและฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการทำวิจัย ในสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ของคณะวิชา ประจำปีการศึกษา 2559 ภายใต้หัวข้อ "การขอความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับงานวิจัยและจรรยาบรรณนักวิจัยที่มีคุณภาพ" อันเป็นแนวทางการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการวิจัยทั้งสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไปพร้อมกันและได้รับการยอมรับต่อไป โดยโครงการนี้จัดขึ้นในวันพุธที่ 1 มีนาคม 2560 เวลา 9:00 น.-16:00 น.

โครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการทำวิจัยด้วยแนวคิด R to R

การวิจัยในชั้นเรียน เป็นการศึกษาอย่างเป็นระบบถึงปรากฏการณ์ทุกอย่างในกระบวนการเรียนการสอนของอาจารย์เพื่อทำความเข้าใจ เพื่อการพัฒนา และเพื่อการปรับปรุงการเรียนการสอน ให้มีคุณภาพมากขึ้น เป็นการเสาะแสวงหาความจริง ที่ดำเนินงานในเชิงสะสมของอาจารย์ ภายในบริบทของการเรียนการสอนในชั้นเรียนของตน โดยได้ผลที่เป็นประโยชน์ทั้งต่ออาจารย์และนักศึกษา โดยการร่วมมือกันในการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นทุกชั่วโมงที่มีการเรียนการสอน

การวิจัยในชั้นเรียนมีเป้าหมายสาคัญอยู่ที่การพัฒนางานการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ ลักษณะการวิจัยเป็น การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) คือ เป็นการวิจัยควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานจริง โดยมีอาจารย์เป็นทั้งผู้ผลิตงานวิจัย และ ผู้บริโภคผลการวิจัย นำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแล้วจะพัฒนาข้อความรู้ที่ได้นั้นต่อไปให้มีความถูกต้องเป็นสากลและประโยชน์มากยิ่งขึ้นต่อการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนานักศึกษาของอาจารย์ให้มีคุณภาพยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ทางสำนักวิจัยจึงร่วมมือกับทุกคณะวิชา ดำเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการทำวิจัยด้วยแนวคิด R to R โดยมีวัตถุประสงค์ คือ

1 เพื่อให้คณาจารย์มหาวิทยาลัยได้เรียนรู้และเข้าใจการทาวิจัยด้วยแนวคิด R to R

2 เพื่อให้คณาจารย์มหาวิทยาลัยมีงานวิจัย

3 เพื่อให้คณาจารย์สามารถนำเทคนิคที่ได้จากการฝึกอบรมไปเลือกและปรับใช้ในกระบวนการ การทำวิจัย

4 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำวิจัยในมหาวิทยาลัยอย่างกว้างขวางและทั่วถึง

โครงการดังกล่าวจัดขึ้น ในวันศุกร์ที่ 22 – วันเสาร์ที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 8.30-16.30 น. ณ ห้องประชุมเธียร์เตอร์ ชั้น 7 มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ซึ่งมี รศ.ดร.นรินทร์ สังข์รักษา เป็นวิทยากรบรรยายในครั้งนี้