The 2nd International Conference on Social Sciences, Management and Technology (ICSSMT2024)
นักวิจัยดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2566
Assoc., Prof. Dr. Bundit Thipakorn
ค้น วารสาร อิเล็กทรอนิกส์ (e-journals) ฟรี ไม่ต้อง login
แหล่งค้นหา วารสาร อิเล็กทรอนิกส์ (eJournals) แบบไม่ต้องใช้รหัสผ่าน
Oxford Academic
เป็นแหล่งรวบรวมวารสารงานวิจัย เผยแพร่ในรูปแบบ Open Access สามารถดาวน์โหลดบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Text) ในรูปแบบไฟล์ PDF
Thai Journals Online (ThaiJO)
เป็นระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทยเป็นแหล่งรวมวารสารวิชาการที่ในทุกสาขาวิชา ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยสามารถดาวน์โหลดบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Text) ในรูปแบบไฟล์ PDF
Chulalongkorn Journal Online (CUJO)
แหล่งรวบรวมบทความวารสารที่ได้มีการตีพิมพ์ลงในวารสารที่จัดทำขึ้นโดยคณะ/วิทยาลัย/สถาบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยให้บริการเผยแพร่บทความวารสารที่สามารถเข้าถึงได้เป็น Open Access สามารถดาวน์โหลดบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Text) ในรูปแบบไฟล์ PDF
DOAJ (Directory of Open Access Journals)
เป็นดัชนีวารสารงานวิจัยจากทั่วโลก ประเภท Open Access ซึ่งครอบคลุมทุกสาขาวิชา เผยแพร่ทางออนไลน์ สามารถใช้งานฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถดาวน์โหลดเอกสารทั้งหมดในรูปแบบ CSV
Springer Open
แหล่งรวบรวมบทความวิชาการ และ eBook ที่น่าเชื่อถือ เผยแพร่ในรูปแบบ Open Access มีเนื้อหาครอบคลุมทุกสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การแพทย์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เปิดให้ใช้งานฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โดยสามารถเลือกการใช้งานแบบอ่านฟรีหรือดาวน์โหลดบทความฉบับสมบูรณ์ไฟล์ PDF
Cambridge University Press
แหล่งรวบรวมวารสารวิชการชั้นนำ เอกสารการวิจัย งานอ้างอิง และ eBook ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก เผยแพร่ในรูปแบบ Open Access สามารถดาวน์โหลดบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Text) ในรูปแบบไฟล์ PDF
Open Access Library
เป็นแหล่งรวบรวมบทความวิชาการ เผยแพร่ในรูปแบบ Open Access ซึ่งครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ รวมถึงสังคมศาสตร์ โดยบทความ OALib จาก OALib Journal นั้นสามารถอ่านและดาวน์โหลดบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Text) ในรูปแบบไฟล์ PDF
Hindawi Publishing Corporation
เป็นแหล่งรวบรวมบทความวิจัยและบทความวิชาการที่ใหญ่ที่สุดครอบคลุมวารสารวิชาการทั่วโลก ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การแพทย์ และสาขาวิชาสังคมศาสตร์ โดยเผยแพร่ในรูปแบบ Open Access สามารถดาวน์โหลดบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Text) ในรูปแบบไฟล์ PDF
ScienceOpen
แหล่งรวบรวมบทความวิจัยและบทความวิชาการ สำหรับสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งสามารถสมัครสมาชิกได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
Emerald Insight
เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมบทความวารสารระดับนานาชาติ มีให้บริการทั้งที่เป็นแบบเอกสารฉบับเต็ม และบทคัดย่อ รวมถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เน้นทางด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ การเงิน บัญชีธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ การศึกษา วิศวกรรมศาสตร์ อาชีวอนามัย เป็นต้น ซึ่งครอบคลุมทุกสาขาวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย โดยสามารถเข้าใช้งานได้ผ่านหน้าเว็บไซต์ ทั้งอยู่ในและนอกมหาวิทยาลัย
คู่มือการใช้งานโปรแกรม Emerald
คู่มือการใช้งานโปรแกรม COPYLEAKS
RESEARCH NEWS
ทุนเสริมสร้างงานวิจัยภาคอุตสาหกรรม โครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม-พวอ.
มาตรการส่งเสริมและสนับสนุน ด้านการร่วมวิจัยการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล
โครงการยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วยการวิจัยและพัฒนา
(ร่าง)ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)
กลุ่มสืบค้นงานวิจัย
การเข้าสืบค้นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (eJournals)
แหล่งสนับสนุนทุนวิจัยจากภายนอก
ขอเชิญส่งบทความลงตีพิมพ์ในวารสาร
SAU JOURNAL OF SCIENCE & TECHNOLOGY
ด้วยวารสาร SAU Journal of Science & Technology ISSN : 2408-235X ซึ่งได้รับการรับรองคุณภาพให้อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย กลุ่มที่ 2 ปัจจุบันตีพิมพ์เผยแพร่ 2 ฉบับ/ปี ดังนี้คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) โดยครอบคลุมวิทยาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมความปลอดภัย วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ดิจิทัลมีเดีย และในปี พ.ศ.2565 วารสาร ฯ ได้ดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่เล่มปีที่ 10 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม –มิถุนายน 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ในการนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จึงขอเรียนเชิญนักวิจัย คณาจารย์ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา หรือบุคลากรในหน่วยงานของท่านส่งบทความวิจัย หรือบทความปริทัศน์ (วิชาการ) ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย ลงตีพิมพ์ในวารสาร SAU Journal of Science & Technology โดยท่านสามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ http://saujournalst.sau.ac.th หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0-2807-4500 ต่อ 404 คุณชุมภูนุช แย้มรู้การ E-mail : SAUJournalST@sau.ac.th
โครงการคลินิกวิจัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
เปิดรับให้คําปรึกษาสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่
ด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อพัฒนานักวิจัยใหม่ให้มีความรู้ความสามารถและนําไปพัฒนาผลงาน / หน่วยงาน
การเขียนเสนอโครงการวิจัย งวิทยาลัยเชียอาคเนย์
ระเบียบขั้นตอนการวิจัย SOUTH-EAST ASIA UNIVERSITY
การประมวลผลข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS
การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่
มั่นใจในกระบวนการทําวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการสรุปงานวิจัย โดยทีมงานคณาจารย์ที่มีประสบการณ์
ติดต่อสํานักวิจัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ทุกวันอังคาร - เสาร์ เวลา 08.30 – 16.30 น. โทรศัพท์ 0-2807-4500-27 ต่อ 404
พันธกิจ วัตถุประสงค์
พันธกิจ
1. ส่งเสริม / สนับสนุนให้อาจารย์ทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
2. สนับสนุนให้คณาจารย์สร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพ
3. สนับสนุนการพัฒนาโครงการและการดำเนินงานวิจัยให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการและ แผนงานตามภารกิจด้านวิจัย อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ
4. ส่งเสริม / สนับสนุนให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ และการประยุกต์ใช้ประโชน์จากผลงานวิจัยที่เหมาะสมกับ กลุ่ม เป้าหมายและสถานการณ์
วัตถุประสงค์
สำนักวิจัยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการส่งเสริมให้บุคคลากรมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ผลิตผลงานวิจัยให้มีทั้งคุณภาพและปริมาณโดย
1. ให้การส่งเสริมและสนับสนุนการทำวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัย
2. ให้การส่งเสริมบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีความรู้ความสามารถในการทำวิจัยอย่างมีคุณภาพ สามารถ
นำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และพัฒนา มหาวิทยาลัย
3. ให้การส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างสถาบันการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพงานวิจัย
4. ดำเนินการรวบรวมและเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
5. ดำเนินการทำวิจัยเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนามหาวิทยาลัย
วิสัยทัศน์
ส่งเสริมงานวิจัยบูรณาการทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมศาสตร์ในระดับชาติและระดับสากล เป็นศูนย์ข้อมูลการวิจัยและนำผลสัมฤทธิ์ไปใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ
ปรัชญา
การวิจัยนำมาซึ่งยอดแห่งความรู้และองค์รวมแห่งความรู้ทั้งมวล
ปณิธาน
ยึดมั่นภารกิจให้การสนับสนุนและพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัย อันจะนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
เพื่อที่จะดำเนินการให้บรรลุ วิสัยทัศน์ ปรัชญา และ ปณิธาน ข้างต้น มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ มีเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในด้านการพัฒนาและส่งเสริมการสร้าง ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่ตอบสนองต่อการพัฒนาและความต้องการของประเทศ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ โดยดำเนินการร่วมมือจัดการประชุมวิชาการทั้งระดับนานาชาติ (ICSSMT) และระดับชาติ (SAUNIC) มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสถาบันความร่วมมือต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้
1.สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคตสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
2.คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
3.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
4.คณะเกษตร วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
5.วิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยรังสิต
6.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (ศาลายา)
7.มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
8.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
9.คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
10.มหาวิทยาลัยเนชั่น
11.สถาบันเทคโนโลยีสุวรรณภูมิ
12.Chongqing Finance and Economics College
13.Lanzhou resources and environment Voc-Tech University
14.Sichuan Normal University
15.Wenzhou Kean University
16.Shanxi College of Applied Science and Technology
17.บริษัท โกเบ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
18.บริษัท คันไซ 1980 เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
19.บริษัท มิสเตอร์ไฟฟ้าไต้ดิน จำกัด
ซึ่งการจัดประชุมวิชาการทั้งระดับนานาชาติและระดับชาตินั้นนอกจากเป็นเวทีสำหรับนำเสนอผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการ ยังเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านงานวิจัย กับคณาจารย์ นักวิจัย และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งสามารถช่วยในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย ได้ต่อไป
นอกจากเวที การเผยแพร่งานวิจัยผ่านการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ และระดับชาติ
แล้ว มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ยังมีวารสารวิชาการ สำหรับเผยแพร่งานวิจัยและงานวิชาการของคณาจารย์ และนักศึกษาทั้งภายในและภายนอก ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และด้านสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ได้แก่ วารสาร SAU JOURNAL OF SCIENCE & TECHNOLOGY และ วารสาร SAU JOURNAL OF SOCIAL SCIENCE & HUMANITIES ซึ่งปุจจุบัน วารสารทั้ง 2 ฉบับนั้น อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2